*วิดีโอการแข่งขันกระต่ายกระโดด สามารถหาได้จากใน Youtube โดยค้นหาโดยใช้คำว่า "Rabbit show jumping"
ประวัติศาสตร์
การแสดงกระต่ายกระโดดเริ่มขึ้นในประเทศสวีเดน ในช่วงช้นปี 1970 โดยสโมสรกระต่ายได้จัดแข่งขันการกระโดดของกระต่าย
ในเวลานั้น กฎกติกาต่าง ๆ ที่ใช้ได้อ้างอิงมาจากการแสดงม้ากระโดด แต่ช่วงหลังได้ปรับเปลี่ยนกฎกติกาใหม่ให้มีความเหมาะสมกับกระต่ายยิ่งขึ้น
ในปี ค.ศ. 1987 ได้มีกการแข่งขันชิงแชมป์แห่งชาติเป็นครั้งแรกในชื่อ "straight line easy course" ที่จัดขึ้นในกรุงสตอกโฮล์มประเทศสวีเดน แล้วการแข่งขันนี้ก็แพร่กระจายออกไป
ในปี ค.ศ. 1990 ประเทศนอว์เวย์ได้เข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันกระต่ายกระโดด และได้เกิดเป็นสโมสรในนอว์เวร์
ในปี ค.ศ. 1994 ได้จัดตั้งสภากระต่ายสวีเดน (Swedish Federation of Rabbit Jumping) ขึ้น แล้วการแข่งขันกระต่ายกระโดดก็เป็นที่นิยมไปทั่วสวีเดน
ในปี ค.ศ. 2000 เยอรมันได้เข้าร่วมการแข่งขันนี้
ในปี ค.ศ. 2001 การแข่งขันกระต่ายกระโดดก็เข้ามาถึงสหรัฐฯ กฏและแนวทางการปฎิบัติต่าง ๆ ได้รับการช่วยเหลือจากคณะกรรมการจากประเทศเดนมาร์ก
ในปี ค.ศ. 2002 และ 2004 องค์กรกระต่ายถูกตั้งขึ้นในประเทศนอร์เวร์และประเทศฟินแลนด์ตามลำดับ (การฝึกอบรมกระต่าย ข้อกำหนดและกฎเกณท์ต่าง ๆ มาจากคณะกรรมการจากเดนมาร์ก)
ในปี ค.ศ. 2013 'สมาคมกระต่ายกระโดด' หรือ AHARC ได้รวมกันกับ 'สมาคมพ่อแม่พันธุ์กระต่ายอเมริกา' หรือ ARBA เป็นสมาคมเดียวกัน
สถิติการกระโดด

ในวันที่ 13 มิถุนายน 2013 ได้มีการล้มแชมป์สถิติกระโดดสูง โดยมีสถิติใหม่คือ 100 ซม. โดย Snöflingans(ชื่อกระต่าย) เจ้าของโดย Tarkan Sönmez ชาวสวีเดน
ส่วนสถิติกระต่ายกระโดดใกลที่สุดในโลก กระโดดได้ไกลถึง 3 เมตร โดย Yaboo(ชื่อกระต่าย) เจ้าของคือ Maria B Jensen ถูกบันทึกสถิตินี้ไว้ในวันที่ 10 มิถุนายน 1999
ระดับการกระโดด
การแข่งขันอย่างเป็นทางการจะมีรั่ว 2 แบบ คือ แบบแนวตั้งและแบบแนวนอน (กระโดดสูงและกระโดดไกลตามลำดับ)
รั่วแนวตั้งและแนวนอนจะแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ
- เล็ก: 20 เซนติเมตร
- ง่าย: 28 เซนติเมตร
- ปานกลาง: 35 เซนติเมตร
- ยาก: 45 เซนติเมตร
- ยอดเยี่ยม: 50 เซนติเมตร
สายพันธุ์กระต่ายที่ใช้ในการเข้าร่วมประกวด
กระต่ายทุกสายพันธุ์สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้ อย่างไรก็ตามอาจจะมีปัญหาในเรื่องขนาดของกระต่าย เช่น กระต่ายตัวเล็กเกินไปหรือกระต่ายตัวใหญ่เกินไป การวัดขนาดของกระต่ายทำได้โดยใช้น้ำหนักกระต่ายเป็นเกณท์ สำหรับกระต่ายที่มีน้ำหนักไม่ถึง 2 กิโลกรัม จะจัดอยู่ในกลุ่มกระต่ายขนาดเล็ก เช่นกระต่ายโปลิช กระต่าย ND (เนเธอร์แลนด์ดรอฟ) ส่วนน้ำหนักกระต่ายที่มากกว่า 5 กิโลกรัมนั้นจะจัดอยู่ในกลุ่มกระต่ายยักษ์
กระต่ายที่มีขนาดเล็กอาจเสียเปรียบในการแข่งขันกระโดดไกล ทว่ามีสถิติที่กระต่ายขนาดเล็กสามารถทำคะแนนได้สูงกว่ากระต่ายขนาดกลางและขนาดใหญ่
ส่วนกระต่ายขนาดใหญ่ เช่น 'กระต่ายยักษ์' มันมีน้ำหนักตัวมาก ในขณะที่มันกระโดด อาจทำให้กระต่ายได้รับบาดเจ็บได้ โดยทั่วไปสำหรับ'กระต่ายแองโกร่า'จำเป็นต้องตัดแต่งขนก่อน เนื่องจากมันมีขนที่บดบังการมองเห็นและจะได้คะแนนไม่ดี ส่วนกระต่ายพันธู์หูตก เช่น กระต่ายฮอลแลนด์ลอป อาจได้รับบาดเจ็บที่หู เนื่องจากมันมีหูขนาดใหญ่
บรรณานุกรม
Wikipedia. (2557). Rabbit show jumping. ค้นข้อมูล วันที่ 20 ธันวาคม 2557. จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Rabbit_show_jumping.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น