กระต่ายท้องอืด...

อาการของกระต่ายท้องอืด...
  1. กระต่ายหยุดกินอาหาร ขดตัวนิ่งๆ หรืออาจจะมีการกัดฟัน เสียงดังร่วมด้วย
  2. อึ จะเป็นก้อนเล็กเเข็ง หรือเป็นก้อนเล็กลงกว่าที่เคย หรืออาจจะไม่ถ่ายเลย
  3. ไม่ร่าเริง ซึม ไม่วิ่งเล่น ขดตัวนิ่งๆ อยู่มุมกรง หรือมุมห้อง

สาเหตุ ขออาการท้องอืด
  1. กินอาหารที่มีเเป้ง หรือคาร์บอไฮเดรต เป็นส่วนประกอบมากเกินไป ได้รับกากใย หรือไฟเบอร์น้อยกว่าที่ร่างกายต้องการ
  2. ความเครียด จากการเปลี่ยนที่อยู่ สภาพเเวดล้อม การเดินทางเป็นเวลานานๆ
  3. ความเครียด จากสภาพเเวดล้อมต่างๆ เช่น เสียงดังๆ ความร้อนของอากาศ หรือการดูเเลที่ไม่เหมาะสม
  4. ความเครียด จากการถูกรบกวนจากคนเเละสัตว์อื่นๆ มากเกินไป
  5. ความเครียด จากการขาดน้ำสะอาด สำหรับกิน ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น
  6. ความเครียด จากอาการป่วย..

การสังเกตุ..
  1. ถ้ากระต่ายหยุดกินอาหาร หรือ ไม่ร่าเริง ไม่วิ่งเล่น ก็ควรตรวจเช็คหาสาเหตุ อาการป่วยทันที
  2. กระต่ายท้องอืด ในท้องจะมีเเก๊ซมาก เมื่อคลำดู จะรู้สึกตึง เเข็ง ลักษณะคล้ายถุงเป่าลม ถ้าใช่ ก็ให้สันนิฐานไว้ก่อนเลยว่าเป็น

ข้อควรทำ
  1. เมื่อพบว่า กระต่ายที่เลี้ยง มีอาการท้องอืด ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เบื้องต้นถ้ากระต่ายยังไม่หยุดกินอาหาร หรือยังพอกินได้บ้าง ให้นำใบกระเพรา ให้กระต่ายกิน เเล้วงดอาหารเม็ด ให้กินหญ้าหรืออาหารที่มีกากใย หรือไฟเบอร์มากๆ ..เเล้วรอดูอาการ 1 วัน ถ้าสามารถกลับมาวิ่งเล่นได้อีก ก็ไม่น่าห่วง
  2. หากพบว่า กระต่ายที่เลี้ยง มีอาการท้องอืด โดยหยุดกินอาหารโดยสิ้นเชิง ให้รีบนำส่งสัตวเเพทย์ในทันที

กระเพรา? กระต่าย?

มาตรการป้องกันการบุกรุกของกระต่ายอ้วน
      ใบกระเพรานั้น กระต่ายส่วนใหญ่จะชอบมากๆเลย บางคนก็บอกว่า กระต่ายกินแล้วดี แก้ท้องอืด บ้างก็ว่าฉี่มีกลิ่นแรงขึ้น
กระต่าย กับ ใบกระเพราะ

      อันนี้ต้นกระเพราที่บ้านผมเอง ทุกๆต้น ต้องปกป้องไว้ มันกินเยอะจริงๆ แต่ก่อนน่ะ ผมปลูกต้นกระเพราะไว้เยอะ เพราะชอบกินผัดกระเพรา แต่กระต่ายมันล้มต้นหมดเลย บางครั้งมันก็กัดให้ล้มเฉยๆ ตอนนี้เหลือไม่เยอะ ต้องป้องกันลำต้น กินใบไม่ว่า แต่แหม มาตัดลำต้นเลย แล้ววันอื่นๆจะกินไรหล่ะน้อ


* รวมความคิดเห็นเกี่ยวกับ กระต่ายกินใบกระเพรา

  • แต่ก่อนกระต่ายก้อกินเยอะค่ะ ย้ำกินแต่กระเพาอย่างเดียวจริง ๆ ค่ะ อย่างอื่นไม่แตะเลย  แต่พอช่วงหลัง ๆ เนี่ยไม่ค่อยกินเท่าไรนัก  (คงเบื่อมั่งค่ะ) 
  • เมื่อก่อนเลี้ยง ไม่ค่อยให้กินกระเพราเท่าไร  แค่นานๆ ให้ที เพราะเหมือนเป็นยารักษาโรค เค้ามากกว่าค่ะ  เมื่อก่อนเค้าบอกว่าแก้หวัดได้  แต่ตอนนี้รู้สึกว่าแก้ได้เยอะเลยคะ อันนี้ไม่แน่ใจเหมือนกัน แต่ไม่ค่อยให้กินค่ะ 
  • เจ้าปีโป้กับเจ้าโปเต้ก้อชอบกระเพราเป็นอันดับหนึ่งเหมือนกันนะคะ มีช่วงนึงให้กินทุกวันเลยเพราะเค้าชอบ อิอิ ตามใจไปหน่อย  แต่ตอนนี้ให้อย่างอื่นสลับกันไปน่ะค่ะ อย่างเช่น ใบบัวบก กวางตุ้ง แครอท ผักกาดเขียว แต่ที่จะวางไว้ให้หลักๆตลอดเวลาเลยก้อคือหญ้าแห้งน่ะค่ะ ตอนนี้วางไว้สารพัดหญ้าเลยอ่ะค่ะ ทั้งหญ้าแพงโกล่า หญ้าเฮย์ หญ้าอัลฟาฟ่า อาหารเม็ด TEAM RABBIT ผสม XTRA VITAL เค้าก้อจะกินๆสลับๆไปแล้วแต่อารมณ์อ่ะจ้า บางทีกินกระเพราะอยู่ ก้อวิ่งแว๊บเข้าไปกินหญ้ากับอาหารเม็ดในกรงซะงั้น 555
  • แกมจิก็ไม่กินค่ะ ยังไงก็ไม่กินเลย แต่คงเพราะเมื่อก่อนตอนเค้าเด็กๆกระเพราหายากและแพงมาก เลยให้สาระแน่ลองนิดนึง เค้าก็ไม่กิน พอเอากลับมาลองให้ทานกระเพราสดๆเค้าก็ไม่ทานแล้ว น่าจะแล้วแต่นิสัยและความชอบ+เราให้อะไรเค้าตอนเด็กๆมั๊งคะ 
  • ทำไมแปงมันไม่กินกระเพราอ้ะ T-T กินใบเดียวแล้วเลิกกินเลย เฮ้อ ตามลิ้งค์น้องมึนๆเลยคะ เห็นมีถกกันอยู่พักนึงเรื่องนี้ 

อันนี้ไม่ใช่ต้นกระเพรา แต่ใบหายหมด กระต่ายมันกินไปทั่ว ต้องระวังมันดีๆ

เป็นความคิดเห็นที่รวบรวมมาจาก Pantip

กระต่ายเสียหลัก


แหม ... ไอ้ตีนเปิ่มมมม ตีนเท่าๆพรั่วน้อย ขุดดินดีขนาด สงสัยจะเสียหลักตกหลุม

พันธุ์กระต่าย | Breeds of rabbits

กระต่ายพันธุ์แองโกร่า (Angora rabbit)


กระต่ายแองโกร่า
        กระต่ายพันธุ์ขน ตั้งชื่อตามเมื่องในตุรกี ขนสีขาว,ยาวประมาณ 5 ถึง 7 เซนติเมตร นิยมตัดมาทำเครื่องแต่งกาย และเครื่องใช้ต่างๆ กระต่ายพันธุ์แองโกล่า บางตัว อาจตัดขนได้ถึงปีละ 4 ครั้ง ตัวผู้ให้ขนเฉลี่ยปีละ 600 - 1450 กรัม ส่วนตัวเมีย ได้ขนปีละประมาณ 800 - 1750 กรัม และสามารถผลิตขนได้นานประมาณ 4 ถึง 5 ปี เมื่อโตเต็มที่ ตัวผู้จะหนักประมาณ 3 กิโลกรัม ตัวเมียหนักประมาณ 3.5 กิโลกรัม

กระต่ายแองโกร่าเป็นกระต่ายสำหรับเลี้ยง (ไม่ใช่กระต่ายป่า) มีขนนุ่ม เป็นหนึ่งในพันธุ์ที่เก่าแก่มากที่สุด มีถิ่นกำเนิดมาจากเมือง Ankara (เมืองหลวงของประเทศตุรกี) อดีตเมืองนี้มีชื่อว่า แองโกร่า (Angora) ไม่เพียงแค่หระต่ายเท่านั้นที่เป็นที่โด่งดัง แต่ยังมีแพะแองโกร่า หรือแมวแองโกร่าอีกด้วย


กระต่ายเบบเฟอร์น
        กระต่ายพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศเบลเยี่ยม มีหลากหลายชนิด หลากหลายสี ที่นิยมเลี้ยงกันในปัจจุบัน เป็นลักษณะสีขาว ตาสีน้ำเงิน เป็นกระต่ายที่มีลำตัวยาว กระต่าย พันธุ์ขนาดใหญ่ เมื่อโตเต็มที่หนักประมาณ 4 กิโลกรัม ตัวเมียหนักประมาณ 4.5 กิโลกรัม














        กระต่ายพันธุ์นี้เป็นกระต่ายที่มีตัวสีขาว แต่ที่บริเวณใบหู คอ จมูก ปลายเท้า และปลายหาง มีสีออกดำๆ ตาสีชมพู เป็นกระต่ายพันธุ์ขนาดกลาง มีช่วงไหล่และช่วงท้ายใหญ่ ตัวผู้เมื่อเติบโตเต็มที่หนักประมาณ 4 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 4.5 กิโลกรัม เลี้ยงง่าย โตเร็ว ให้ลูกดก เป็นกระต่ายขนาดกลาง และใช้เลี้ยงโชว์ ว่ากันว่า พัฒนามาจากกระต่ายพันธุ์ Himalayan พันธุ์ Chin chilla และพันธุ์ New Zeland White







กระต่ายพันธุ์ชินชิล่า (Chinchilla) 

จะแยกเป็น 3 พันธุ์ย่อย คือ
  1. ชินชิล่ามาตรฐาน
  2. อเมริกันชินชิล่า
  3. แกนท์ชินชิล่า
ชินชิล่า
        เป็นกระต่ายขนาดเล็กขนสีเทาเลี้ยงให้โตเร็ว ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่หนัก 2.5 ถึง 3.2 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 3 ถึง 3.7 กิโลกรัม














        เป็นกระต่ายพันธุ์ใหม่ที่ผสมพันธุ์มาจากสาย Chinchilla กระต่ายพันธุ์นี้มีสีเทา แต่มีขนบางส่วนสีน้ำเงิน สีดำ และสีขาว เป็นกระต่ายพันธุ์ขนาดกลาง มีสะโพกและชั้นหลังใหญ่ เมื่อโตเต็มที่ ตัวผู้หนักประมาณ 4 กิโลกรัม ส่วนตัวเมียหนักประมาณ 5 กิโลกรัม


กระต่ายแกนท์ชินชิล่า
       เป็นกระต่ายพันธุ์ชินชิล่าที่มีน้ำหนักตัว 5.5 กิโลกรัมขึ้นไป เป็นพันธุ์ที่เลี้ยงไว้เพื่อค้าเนื้อ














กระต่ายพันธุ์แชมเปญสีเงิน (Champagne d’ Argent rabbit)

        เดิมมีชื่อเรียกว่า French Silver (เงิน-ฝรั่งเศส, แต่ Argent ในภาษาฝรั่งเศส ก็แปลว่าเงินเช่นกัน) เป็นกระต่ายพันธุ์เก่าแก่ (ประมาณปี ค.ศ. 1800) นิยมเลี้ยงกันในแถบมณฑลแชมป์ ของฝรั่งเศส เป็นกระต่ายที่มีลำตัวยาว ส่วนหลังและบั้นท้ายมีเนื้อเยอะ ตัวผู้น้ำหนักประมาณ 4.5 กิโลกรัม ตัวเมียหนักประมาณ 5 กิโลกรัม เมื่อกระต่ายอายุ 2 เดือน กระต่ายจะหนักถึง 1.6 กิโลกรัม ในสหรัฐอเมริกานิยมเลี้ยงขายเป็นเนื้อ เพราะเป็นพันธุ์ที่โตเร็ว

กระต่ายพันธุ์ดัชต์
        พันธุ์นี้มีหลากหลายชนิด แต่ที่นิยมคือ สีขาว-ดำ หรือ น้ำเงิน เป็นกระต่ายพันธุ์ขนาดเล็ก รูปร่างกะทัดรัด มีสีขาวบริเวณปาก ช่วงอกและขาหน้า นอกจนั้นเป็นสีดำ ในสหรัฐอเมริกานิยมเลี้ยงไว้ดูเล่น เพื่อความเพลิดเพลิน เพราะสีงามและแปลกตา หรืออาจจะ ใช้ในห้องทดลอง เป็นกระต่ายที่โตเร็ว เลี้ยงง่าย และให้ลูกดก เมื่อโตเต็มที่กระต่ายตัวผู้หนักประมาณ  1.8 กิโลกรัม ตัวเมียหนักประมาณ  2.6  กิโลกรัม









กระต่ายพันธุ์ผสม (Fancies Rabbit)

        มีกระต่ายที่เลี้ยงกันทั่วไป ซึ่งมีอยู่มาก ผสมปนเปกัน จนไม่สามารถจัดพันธุ์ได้แน่นอน หรือบางคนเรียกพันธุ์แฟนซี มีสีสันต่างๆกัน เช่น สีขาว ดำ น้ำตาล และเทา แต่ที่นิยมทั่วไป คือ สีขาว ตาแดง น้ำหนักของกระต่ายพันธุ์นี้ประมาณ 2 ถึง 2.5 กิโลกรัม ค่อนข้างโตช้า แต่ตายยาก กินอาหารพื้นบ้านได้ดี



กระต่ายพันธุ์เฟลมิช ไจแอนท์ (Flemish Giant rabbit)


กระต่ายยักษ์
        เป็นกระต่ายขนาดใหญ่(กระต่ายยักษ์) มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศเบลเยี่ยม มีหลากหลายสีหลายชนิด ต่างต่างกันออกไป แต่ลักษณะกระต่ายสีเทา จะเป็นพันธุ์ที่นิยมในสหรัฐอเมริกา เมื่อโตเต็มที่จะมีน้ำหนักถึง 6 กิโลกรัม ตัวเมีย มีน้ำหนักประมาณ 6.5 กิโลกรัม เป็นกระต่ายพันธุ์ใหม่ ส่วนใหญ่เลี้ยงอยู่ในประเทศที่มีอากาศหนาว















พันธุ์ฮาเล็คควีน (Harlequin rabbit)

ฮาเล็คควีน
        เป็นกระต่ายสายพันธุ์จากฝรั่งเศส ตัวสีดำสลับขาว บางตัว สีทองสลับดำ เป็นกระต่ายขนาดเล็ก กระทัดรัด เป็นที่นิยมเลี้ยงกันในแถบยุโรป ตัวผู้หนักประมาณ 2-3 กิโลกรัม ตัวเมียหนักประมาณ 3.8 กิโลกรัม 








กระต่ายพันธุ์หิมาลายัน (Himalayan rabbit)


กระต่ายหิมาลายัน
        เป็นกระต่ายที่มีถิ่นกำเนิดแถบบริเวณตอนเหนือ และตอนใต้ของเทือกเขาหิมาลัย เป็นกระต่ายขนาดเล็ก ขนสั้น สีขาว ส่วนปลายจมูก, ใบหู, ไปเท้าและหางมีสีดำ เนื่องจากเป็นกระต่ายขนาดเล็ก นิยมเลี้ยงไว้ดูเล่น เมื่อโตเต็มที่น้ำหนักประมาณ  1.5-2.0 กิโลกรัม และตัวเมียหนักประมาณ 2-2.5 กิโลกรัม








กระต่ายพันธุ์ฮาวาน่า (Havana rabbit)


กระต่ายพันธุ์ฮาวาน่า
       กระต่ายพันธุ์นี้ถูกพบเห็นครั้งแรกในประเทศเนเธอร์แลนด์ในปี 1898 เป็นสายผสมจากหลากหลายสายพันธุ์ เช่น Fee de Marbourg, Perlefee และ Gris Perle de Hal. (เป็นชื่อพันธุ์พื้นเมืองของประเทศเนเธอร์แลนด์)
       กระต่ายฮาวาน่าถูกยอมรับโดยสมาคม ABBA แล้ว กระต่ายพันธุ์นี้มี 4 สี คือ สีน้ำเงิน สีช็อกโกแลต สีดำและสี "น้ำตาล"*(broken) รูปร่างค่อนข้างกลม กระทัดรัด น้ำหนักโดยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 2.0 ถึง 2.9 กิโลกรัม

*มันเป็นน้ำตาลแบบว่า ..อธิบายไม่ถูก




กระต่ายไลออนเฮด (Lionhead)



เป็นกระต่ายสายพันธุ์ใหม่ในอเมริกาและทั่วโลก เนื่องจากมันเพิ่งถูกยอมรับโดย ARBA เมื่อต้นปี 2014 ที่ผ่านมา ( 1 ก.พ. 2557 ) จริง ๆ แล้วมันเป็นพันธุ์หลายคนรู้จักกันมานานแล้ว แต่ตามหลักการ มันยังไม่ใช่สายพันธุ์ ก่อนหน้านี้มันจัดอยู่ในกลุ่มพวกพันธุ์ผสม เนื่องจากกระต่ายพันธุ์นี้มีลักษณะที่เกี่ยวกับพันธุกรรมที่ไม่แน่นอน

เมื่อกระต่ายโตเต็มที่จะมีน้ำหนักอยู่ในช่วง 1.13 ถึง 1.7 กิโลกรัม


ประวัติพันธุ์กระต่าย

กระต่ายไลออนเฮดมีถิ่นกำเนิดในประเทศเบลเยียม มีรายงานว่าสายพันธุ์นี้เกิดจากความพยายามที่จะผสมสายพันธุ์ขึ้นมาใหม่ ให้ได้กระต่ายที่แคระและมีขนยาว โดยการผสมพันธุ์ระหว่างกระต่าย Swiss Fox และกระต่ายแคระ ND (เนเธอร์แลนด์) เรื่องนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่ก่อให้เกิดขนในบริเวณรอบศีรษะและไหล่ ยีนนี้กลายเป็นที่รู้จักในนาม "ยีนแผงคอ" จากนั้น "ยีนแผงคอ" ถูกแยกออกมาจากยีนอื่น ๆ เช่น ยีนขน ยีนสี



กระต่ายพันธุ์ลอพส์ (Lops) *** มีหลายสายพันธุ์

        กระต่ายพันธุ์นี้มีลักษณะ เด่นคือมีใบหูยาว ใหญ่ มีสีดำและสีขาว เมื่อโตเต็มที่ จะมีน้ำหนักประมาณ 4.5 กิโลกรัม ตัวเมียหนักประมาณ 4.8 กิโลกรัม มีรายชื่อดังต่อไปนี้

กระต่ายมินิลอป (Mini Lop)


Klein Widder

ในปี ค.ศ. 1972 Bob Herschbach ได้ค้นพบกระต่ายสายพันธุ์มินิลอปในงานแสดงกระต่างแห่งชาติเยอรมัน ใน Essen ประเทศเยอรมัน กระต่ายมินิลอปตัวนั้นชื่อ Klein Widder ดังในรูป

กระต่ายมินิลอปตัวแรกกำเนิดมาจาก "German Big Lop" และ "Small Chinchilla"

German lops หนักประมาณ 3.6 กิโลกรัม รูปร่างเรียวและมีขนาดใหญ่ มีหูหนา

Bob Herschbach ได้ให้กำเนิดมินิลอปตัวแรกในสหรัฐฯ ซึ่งมีสีทึบ สำหรับรุ่นต่อมาสีของกระต่ายเปลี่ยนเป็นสีแถว ๆ สีน้ำตาล ซึ่งกลายมาเป็นสีมาตรฐานของกระต่ายพันธุ์มินิลอป

ในปี ค.ศ. 1974 หลังจากที่ Bob Herschbach มีกระต่ายมินิลอปแล้ว เขาก็ได้นำไปให้ทาง ARBA ขึ้นทะเบียนเป็นสายพันธุ์ใหม่ แต่ทาง ARBA แนะนำว่าควรทำการลดขนาดของกระต่ายลงให้มีความกระทัดรัดมากยิ่งขึ้นเพื่อให้เป็นกระต่ายที่มีความน่าสนใจ เพื่อการลดขนาดนี้ Bob Herschbach ได้ตามหาพ่อแม่พันธุ์กระต่ายอื่น ๆ มาผสมกับกระต่ายมินิลอปของเขา แล้วกระต่ายมินิลอปก็เป็นที่สนใจแก่ประชาชนทั่วไป


กระต่ายฮอลแลนด์ลอป


กระต่ายอายุ 2 เดือน

ฮอลแลนด์ลอปเป็นพันธุ์กระต่ายที่มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ถูกยอมรับโดย Netherlands' Governing Rabbit Council ในปี 1964. และโดย American Rabbit Breeders' Association ในปี 1979. กระต่ายพันธุ์นี้เป็นกระต่ายที่นิยมอย่างมากในการเลี้ยงไว้ที่บ้านและนำมาแข่งขัน บางครั้งกระต่ายจะมีนิสัยอ่อนโยน แต่ก็มีบางครั้งที่มีความก้าวร้าวอยู่ในตัว

หลังจากส่งกระต่ายออกนอกประเทศฮอลแลนด์ และสมาคม ARBA ได้ยอมรับสายพันธุ์นี้ มันก็กลายเป็นกระต่ายที่ผู้คนที่นิยมอย่างรวดเร็ว แต่ประวัติของกระต่ายพันธุ์นี้ค่อนข้างมีน้อย ฮอลแลนด์ลอปรู้จักกันในอีกชื่อคือ Dwarf Lop มันเป็นกระต่ายที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้เก่ง




กระต่ายเนเธอร์แลนด์ดรอฟ
        เป็นกระต่ายขนาดเล็ก มีหลายชนิด แต่ละชนิดสีขาวเป็นที่นิยม พันธุ์นี้มีขนาดเล็ก กะทัดรัด เชื่อง จับง่าย เมื่อโตเต็มที่น้ำหนัก ไม่ถึง 1 กิโลกรัม ส่วนมากเลี้ยงไว้เพื่อความเพลิดเพลิน

ในตลาดซื้อขายกระต่ายก็มักจะพบเห็นการขายกระต่ายพันธุ์นี้เป็นจำนวนมาก นั้นแสดงให้เห็นว่ามันเป็นกระต่ายที่นิยม มันถูกเรียกสั้น ๆ ว่า "กระต่ายแคระ" ความนิยมเหล่านี้มาจากลักษณะของตัวกระต่ายที่มีขนาดเล็กน่ารักน่าเอ็นดู มันจึงถูกใจใครหลาย ๆ คนแม้ว่ากระต่ายแคระจะมีขนาดเล็ก แต่มันก็ต้องการพื้นที่มากพอ ๆ กับกระต่ายขนาดทั่วไป มันจำเป็นต้องวิ่งออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีของมันเอง ความเข้าใจที่ว่ากระต่ายแคระต้องการพื้นที่เพียงเล็กน้อยนั้นเป็นเรื่องที่ไม่จริง


กระต่ายพันธุ์นิวซีแลนด์ (New Zealand breed)

        ในอเมริกา นิยมเลี้ยงพันธุ์นี้กันมาก เป็นกระต่ายเนื้อ หรือใช้ทดลองในห้องทดลอง มีหลายสี แต่ชนิดที่ “ขนสีขาว ตาสีชมพู” จะถูกเรียกว่า “New Zealand White”  เป็นพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายที่สุด เป็นกระต่ายขนาดกลาง เมื่อโตเต็มที่ ตัวผู้หนักประมาณ 4.5 กิโลกรัม ตัวเมียหนักประมาณ 5 กิโลกรัม


กระต่ายพันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์ (New Zealand White rabbit)


นิวซีแลนด์ไวท์
       กระต่ายพันธุ์นี้เป็นกระต่ายที่มีผู้นิยมอย่างแพร่หลายมากทั้งเลี้ยงเพื่อเอาหน้า เครื่องฟอกหนัง เป็นกระต่ายสีขาวสะอาดงดงามตาสีแดงให้ลูกดก นิยมเลี้ยงเป็นกระต่ายสดเนื้ิอส่งตลาดจะตาย พันธุ์นี้โตเร็ว ลูกกระต่ายอายุ 2 เดือนหนักถึง 2 กิโลกรัม ตัวผู้ ตัวยาวถึง 18 นิ้วครึ่งหนัก 45 กิโลกรัมตัวเมียยาว 19 นิ้วขึ้นหนัก 5 กิโลกรัมจะเป็นขณะที่อยู่ในความต้องการของตลาดในประเทศไทยนิยมใช้เป็นพ่อพันธุ์ผสม กับแม่พันธุ์ไก่พื้นเมือง




เร็กซ์
        เป็นกระต่ายขนสั้น ขนยาวประมาณ 3 เซนติเมตร เป็นที่นิยมเลี้ยงในสหรัฐอเมริกา ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่น้ำหนักประมาณ 3.2 กิโลกรัม ตัวเมียจะมีน้ำหนักประมาณ 3.6 กิโลกรัม















กระต่ายมินิเร็กซ์ (Mini Rex Rabbit)



มินิเร็กซ์เป็นสายพันธุ์กระต่ายที่มาจากฝรั่งเศษในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เกิดการกลายพันธุ์ของกระต่ายพันธุ์เร็กซ์(Rex) ทำให้รูปร่างผิดไปจากเดิม

เนื่องจากมินิเร็กซ์มีขนาดเล็กและมีความเป็นมิตรทำให้มันเป็นหนึ่งในสายพันธุ์กระต่ายที่นิยมที่สุดในสหรัฐฯ มินิเร็กซ์ถูกขึ้นทะเบียนโดย ARBA ในปี ค.ศ. 1988 และจากนั้นมันเป็นกระต่ายที่ผู้คนส่งเข้าประกวดเป็นจำนวนมาก เมื่อโตเต็มที่มินิเร็กซ์จะมีน้ำหนักประมาณ 1.6-2.0 กิโลกรัม มีขนค่อนข้างสั้น เงางาม ขนกำมะหยี่ โดยเฉลี่ยขนจะยาว 1.56 เซนติเมตร


พันธุ์ไซมีส เซบิล (Siamese Sable breed)

ไซมีส เซบิล
        เป็นกระต่ายที่มีเชื้อสายมาจากกระต่ายแถบประเทศไทย อินโดจีน และสามารถนำไปเลี้ยงในเขตหนาว เป็นกระต่ายพันธุ์ขนาดเล็ก สีเทาอ่อน เมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนักประมาณ 2 ถึง 2.5 กิโลกรัม ตัวเมียมีน้ำหนักประมาณ 2.5 ถึง 3.0 กิโลกรัม
















กระต่ายพันธุ์ซิลเวอร์ฟ๊อคซ์ (Silver Fox rabbit)

ซิลเวอร์ฟ๊อคซ์
        เป็นกระต่ายพันธุ์ขนาดกลางมี 2 ชนิด คือ ชนิดพันธุ์สีน้ำเงิน และชนิดพันธุ์สีดำ พันธุ์ขนน้ำเงิน จะมี Under Coat สีน้ำเงินสลับดำ (พันธุ์สีดำ จะมีแต่สีดำ) พันธุ์สีน้ำเงินจะมีขน Guard hair ยาวกว่าประมาณ 4 เซนติเมตร เป็นกระต่ายพันธุ์ขนาดกลาง มีลำตัวยาวปานกลาง เลี้ยงไว้เพื่อใช้ผลิตขน เมื่อโตเต็มที่ ตัวผู้จะหนักประมาณ 4.5 กิโลกรัม ตัวเมียหนักประมาณ 5 กิโลกรัม 






กระต่ายไทย (Thai Rabbit rabbit)

        เป็นกระต่ายที่เลี้ยงกันทั่วไปในประเทศไทย ซึ่งโดยทั่วไป ไม่มีการคัดเลือกพันธุ์ มีหลายสี เช่น สีเทา สีขาว สีดำ-ขาว สีน้ำตาล เป็นกระต่ายขนาดเล็ก เมื่อโตเต็มที่น้ำหนักประมาณ 2 ถึง 3 กิโลกรัม กระต่ายไทยนั้นเลี้ยงง่าย และทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี ไม่ต้องดูแลมากเหมือนกระต่ายต่างประเทศ 




กระต่ายพันธุ์สิคคา-เสด (ZIKA-Z rabbit)

        เป็นกระต่ายเนื้อพันธุ์ใหม่ที่ฟาร์มกระต่ายที่ชื่อ Sehweizernof ได้ใช้ความพยายามในการผสมพันธุ์คัดเลือกพันธุ์อยู่นานกว่า 20 ปี จนได้กระต่ายสายพันธุ์ใหม่ ที่มีคุณค่ามีสมบัติในการให้เนื้อดี สายพันธุ์นี้เป็นกระต่ายสีขาว ขนสั้น ตาสีสีชมพู ลำตัวยาว เมื่อโตเต็มที่ ตัวผู้จะหนักราวๆ 4 กิโลกรัม ตัวเมียมีน้ำหนัก 4.5 กิโลกรัม

กระต่ายสายพันธุ์สำหรับเศรฐกิจ

(ใช้ผลิตเนื้อและขน)

พันธุ์อเมริกันชินชิล่า (American Chinchilla breed)
        เป็นกระต่ายพันธุ์ใหม่ที่ผสมพันธุ์มาจากสาย Chin chilla. กระต่ายพันธุ์นี้มีสีเทา แต่มีขนบางส่วนสีน้ำเงิน สีดำ และสีขาว เป็นกระต่ายพันธุ์ขนาดกลาง มีสะโพกและชั้นหลังใหญ่ เมื่อโตเต็มที่ ตัวผู้หนักประมาณ 4 กิโลกรัม ส่วนตัวเมียหนักประมาณ 5 กิโลกรัม


พันธุ์แองโกร่า (Angora breed)
        กระต่ายพันธุ์ขน ตั้งชื่อตามเมื่องในตุรกี ขนสีขาว,ยาวประมาณ 5 ถึง 7 เซนติเมตร นิยมตัดมาทำเครื่องแต่งกาย และเครื่องใช้ต่างๆ กระต่ายพันธุ์แองโกล่า บางตัว อาจตัดขนได้ถึงปีละ 4 ครั้ง ตัวผู้ให้ขนเฉลี่ยปีละ 600 - 1450 กรัม ส่วนตัวเมีย ได้ขนปีละประมาณ 800 - 1750 กรัม และสามารถผลิตขนได้นานประมาณ 4 ถึง 5 ปี เมื่อโตเต็มที่ ตัวผู้จะหนักประมาณ 3 กิโลกรัม ตัวเมียหนักประมาณ 3.5 กิโลกรัม

พันธุ์เบบเฟอร์น (Bevern breed)
        กระต่ายพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศเบลเยี่ยม มีหลากหลายชนิด หลากหลายสี ที่นิยมเลี้ยงกันในปัจจุบัน เป็นลักษณะสีขาว ตาสีน้ำเงิน เป็นกระต่ายที่มีลำตัวยาว กระต่าย พันธุ์ขนาดกลาง เมื่อโตเต็มที่หนักประมาณ 4 กิโลกรัม ตัวเมียหนักประมาณ 4.5 กิโลกรัม


พันธุ์แคลิฟอร์เนีย (Californian breed)
        กระต่ายพันธุ์นี้เป็นกระต่ายที่มีตัวสีขาว แต่ที่บริเวณใบหู คอ จมูก ปลายเท้า และปลายหาง มีสีออกดำๆ ตาสีชมพู เป็นกระต่ายพันธุ์ขนาดกลาง มีช่วงไหล่และช่วงท้ายใหญ่ ตัวผู้เมื่อเติบโตเต็มที่หนักประมาณ 4 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 4.5 กิโลกรัม ว่ากันว่า พัฒนามาจากกระต่ายพันธุ์ Himalayan พันธุ์ Chin chilla และพันธุ์ new zeland white


พันธุ์แชมเปญสีเงิน  (Champagne d’ Argent)
        เดิมมีชื่อเรียกว่า French Silver (เงิน-ฝรั่งเศส, แต่ Argent ในภาษาฝรั่งเศส ก็แปลว่าเงินเช่นกัน) เป็นกระต่ายพันธุ์เก่าแก่ (ประมาณปี ค.ศ. 1800) นิยมเลี้ยงกันในแถบมณฑลแชมป์ ของฝรั่งเศส เป็นกระต่ายที่มีลำตัวยาว ส่วนหลังและบั้นท้ายมีเนื้อเยอะ ตัวผู้น้ำหนักประมาณ 4.5 กิโลกรัม ตัวเมียหนักประมาณ 5 กิโลกรัม เมื่อกระต่ายอายุ 2 เดือน กระต่ายจะหนักถึง 1.6 กิโลกรัม ในสหรัฐอเมริกานิยมเลี้ยงขายเป็นเนื้อ เพราะเป็นพันธุ์ที่โตเร็ว


พันธุ์เฟลมิช ไจแอนท์ (Flemish Giant breed)
        เป็นกระต่ายขนาดใหญ่ มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศเบลเยี่ยม มีหลากหลายชนิดและสีต่างต่างกันออกไป แต่ลักษณะกระต่ายสีเทา จะเป็นพันธุ์ที่นิยมในสหรัฐอเมริกา เมื่อโตเต็มที่จะมีน้ำหนักถึง 6 กิโลกรัม ตัวเมีย มีน้ำหนักประมาณ 6.5 กิโลกรัม เป็นกระต่ายพันธุ์ใหม่ ส่วนใหญ่เลี้ยงอยู่ในประเทศที่มีอากาศหนาว


พันธุ์หิมาลายัน (Himalayan breed)
        เป็นกระต่ายที่มีถิ่นกำเนิดแถบบริเวณตอนเหนือ และตอนใต้ของเทือกเขาหิมาลัย เป็นกระต่ายขนาดเล็ก ขนสั้น สีขาว ปลายจมูก ใบหู ไปเท้า และหาง มีสีดำ เนื่องจากเป็นกระต่ายขนาดเล็ก นิยมเลี้ยงไว้ดูเล่น เมื่อโตเต็มที่น้ำหนักประมาณ  1.5-2.0 กิโลกรัม และตัวเมียหนักประมาณ 2-2.5 กิโลกรัม


พันธุ์นิวซีแลนด์ (New Zeland breed)
        ในอเมริกา นิยมเลี้ยงพันธุ์นี้กันมาก เป็นกระต่ายเนื้อ หรือใช้ทดลองในห้องทดลอง มีหลายสี แต่ชนิดที่ “ขนสีขาว ตาสีชมพู” จะถูกเรียกว่า “new zealand white”  เป็นพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายที่สุด เป็นกระต่ายขนาดกลาง เมื่อโตเต็มที่ ตัวผู้หนักประมาณ 4.5 กิโลกรัม ตัวเมียหนักประมาณ 5 กิโลกรัม


พันธุ์เร็กซ์ (Rex breed)
        เป็นกระต่ายขนสั้น ขนยาวประมาณ 3 เซนติเมตร เป็นที่นิยมเลี้ยงในสหรัฐอเมริกา ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่น้ำหนักประมาณ 3.2 กิโลกรัม ตัวเมียจะมีน้ำหนักประมาณ 3.6 กิโลกรัม


พันธุ์ไซมีส เซบิล (Siamese Sable breed)
        เป็นกระต่ายที่มีเชื้อสายมาจากกระต่ายแถบประเทศไทย อินโดจีน และสามารถนำไปเลี้ยงในเขตหนาว เป็นกระต่ายพันธุ์ขนาดเล็ก สีเทาอ่อน เมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนักประมาณ 2 ถึง 2.5 กิโลกรัม ตัวเมียมีน้ำหนักประมาณ 2.5 ถึง 3.0 กิโลกรัม


พันธุ์ซิลเวอร์ฟ๊อคซ์ (Silver Fox breed)
        เป็นกระต่ายพันธุ์ขนาดกลางมี 2 ชนิด คือ ชนิดพันธุ์สีน้ำเงิน และชนิดพันธุ์สีดำ พันธุ์ขนน้ำเงิน จะมี Under Coat สีน้ำเงินสลับดำ (พันธุ์สีดำ จะมีแต่สีดำ) พันธุ์สีน้ำเงินจะมีขน Guard hair ยาวกว่าประมาณ 4 เซนติเมตร เป็นกระต่ายพันธุ์ขนาดกลาง มีลำตัวยาวปานกลาง เลี้ยงไว้เพื่อใช้ผลิตขน เมื่อโตเต็มที่ ตัวผู้จะหนักประมาณ 4.5 กิโลกรัม ตัวเมียหนักประมาณ 5 กิโลกรัม 


กระต่ายไทย (Thai rabbit breed)
        เป็นกระต่ายที่เลี้ยงกันทั่วไปในประเทศไทย ซึ่งโดยทั่วไป ไม่มีการคัดเลือกพันธุ์ มีหลายสี เช่น สีเทา สีขาว สีดำ-ขาว สีน้ำตาล เป็นกระต่ายขนาดเล็ก เมื่อโตเต็มที่น้ำหนักประมาณ 2 ถึง 3 กิโลกรัม กระต่ายไทยนั้นเลี้ยงง่าย และทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี ไม่ต้องดูแลมากเหมือนกระต่ายต่างประเทศ 


พันธุ์สิคคา-เสด (ZIKA-Z)
        เป็นกระต่ายเนื้อพันธุ์ใหม่ที่ฟาร์มกระต่ายที่ชื่อ Sehweizernof ได้ใช้ความพยายามในการผสมพันธุ์คัดเลือกพันธุ์อยู่นานกว่า 20 ปี จนได้กระต่ายสายพันธุ์ใหม่ ที่มีคุณค่ามีสมบัติในการให้เนื้อดี สายพันธุ์นี้เป็นกระต่ายสีขาว ขนสั้น ตาสีสีชมพู ลำตัวยาว เมื่อโตเต็มที่ ตัวผู้จะหนักราวๆ 4 กิโลกรัม ตัวเมียมีน้ำหนัก 4.5 กิโลกรัม 

เลี้ยงกระต่าย ควรศึกษาวิธีเลี้ยงสักนิด


"ประกาศค่ะ ช่วงนี้เห็นมีพ่อแม่กระต่ายปัญญาอ่อนหลายท่าน
ดิฉันจะไม่มีความเกรงใจใคร ณ จุดจุดนี้
กระต่ายโพ่งงงงงงกินอาหารคน ศึกษาบ้างไรบ้างก่อนเลี้ยง อย่าสักแต่ว่ามันกินได้ เย๊ๆๆ มันน่ารักจุงเบยยยย
มันชอบข้าวเหนียว หมูปิ้ง ป๊อกกี้ โยเกิร์ต เย๊ๆๆๆๆ
พ่องตายค่ะ!! ปัญญาอ่อนนนนนนนนนนน
กระต่ายเป็นสัตว์ฟันแทะ และสมองเล็กจิ๊ดเดียว มันเกิดมาเพื่อกินและสืบพันธุ์ ดังนั้นจึงกินโดยไม่คิดและกินได้ตลอดเวลาตามใจมันล้วนๆ
เสาไม้ สายไฟ เก้าอี้หวายราคาแพงล้วนกินซะหมดสิ้น
แต่ในเมื่อกระต่ายคิดไม่ได้ เราผู้เป็นเจ้าของและผู้เลี้ยงจึงต้องคิดก่อนให้
อย่ามาปากดีเถียงว่ากินมาตั้งนานแล้ว ไม่เห็นตายเบยยยยยยย
ห่านนนนนนนนนนน มันไม่ตายตอนนี้ เร็วๆนี้ แต่ซักวันมันจะตายอย่างทรมานที่สุด
กระต่ายเหมือนคนอย่างนึงตรงที่ คนบางคนกินแตงโมได้ ในขณะที่บางคนกินแล้วท้องเสีย
กระต่ายบางตัวจึงกินอาหารคนได้โดยยังไม่แสดงอาการอะไร
แต่แทนที่กระต่ายตัวนั้นจะอายุยืน 10 ปี จะกลายเป็นว่าเหลือแค่ 3 ปี 5 ปี 7 ปี สุดแต่อาการป่วยจะแสดงออกมาตอนไหน
แล้วทำไมคุณไม่ให้อาหารที่เหมาะกับมัน ในเมื่อคุณโชคดีได้กระต่ายแข็งแรงๆที่อยู่ได้ถึง 10 ปีแล้วหล่ะ
กินได้กับได้กินมันไม่เหมือนกัน
คนก็กินดินได้ค่ะ และเชื่อว่าไม่ตายทันทีด้วย
แต่ถ้าแล้วไม่เกิดประโยชน์กับร่างกาย จะกินทำห่าอะไรคะ
กระต่ายก็เหมือนกันค่ะ
อะไรที่ไม่ใช่อาหารกระต่าย อย่าเสือกให้ค่ะ เก็ทกันทุกคนนะคะ??"
‪#‎อย่ามาหือกับมนุษย์เมนส์‬

มีคนแชร์พอสมควร จึงอยากให้ทุกๆท่านที่คิดจะเลี้ยง ได้ศึกษาวิธีเลี้ยงบ้าง เท่านั้นเอง

โรคของกระต่าย

การเลี้ยงกระต่ายในประเทศไทยยังไม่ค่อยมีมาก(เทียบกับสัตว์อื่นๆ) โดยทั่วไปดูเหมือนว่ากระต่ายเป็นสัตว์เลี้ยงที่ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรครบกวน แต่ก็พอมีโรคที่เกิดกับกระต่ายอยู่บ้าง นอกจากจะทำให้สูญเสียทางเศรษฐกิจแล้ว อาจทำให้ผู้เลี้ยงเกิดความท้อใจที่จะเลี้ยงกระต่ายได้ ดังนั้น ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการเลี้ยงกระต่ายขึ้นอยู่กับความสามารถในการควบคุม ไม่ให้กระต่ายเกิดโรค หรือเกิดโรคน้อยที่สุด เพื่อให้ได้กระต่ายที่แข็งแรงตามต้องการ


สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคของกระต่าย อาจเกิดขึ้นในหลายสาเหตุเช่น 1.โรคจากพยาธิต่างๆ โรคติดเชื้อของกระต่าย จะติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว เช่น โรคหวัด โรคบิด โรคปอดบวม โรคท้องร่วง 2.สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ เช่น อาหาร อุณหภูมิ ที่อยู่อาศัย และ การเลี้ยงดูไม่ถูกต้อง อากาศร้อนมากๆ กระต่ายอาจถึงกับตายได้(หนังสือเขียนไว้ว่างั้น) หรือทำให้กระต่ายผอม หากมีโรคปอดบวมแทรกซ้อน จะทำให้กระต่ายตาย 3.เกิดจากกรรมพันธุ์ ซึ่งถูกถ่ายทอดมาตามสายพันธุ์ของกระต่าย เช่น โรคฟันยื่น โลกขาแบะ เป็นต้น


การสังเกตสุขภาพของกระต่าย

1 สังเกตจากสภาพทั่วไปเช่น ตา ขน หนังกระต่าย ที่มีสุขภาพดีนั้น ขนจะต้องละเอียดอ่อนนุ่มนิ่ม ถ้ากระต่ายป่วยเป็นโรค สิ่งเหล่านี้จะเปลี่ยนไป เช่น ตามีน้ำตาไหล ขี้ตามาก ขนร่วง เป็นต้น

2 สังเกตจากท่าทางของกระต่าย เช่น การเดิน การกินอาหาร การหายใจ และการทรงตัว กระต่ายที่ปกติจะยืนและเดินด้วยขาหน้า และทรงตัวด้วยขาหลัง ทำให้หูชี้ไปทางด้านหลัง ถ้ากระต่ายป่วย ไม่สบาย อาการต่างๆจะเปลี่ยนไป เช่น ไม่กินอาหาร นอนหมอบตลอดเวลา หูข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างตก

3 สังเกตนิสัย กระต่ายที่มีสุขภาพดีจะอ้วนท้วนสมบูรณ์ และร่างเริงตลอดเวลา มักแต่งตัวอยู่เสมอ ชอบกัดขนให้ตัวเองสะอาด แต่ถ้าตายมีสุขภาพไม่สมบูรณ์ ไม่ค่อยร่าเริง ไม่แต่งตัว นอนหมอบอยู่เฉยๆ

กระต่าย เบื้องต้น

        การเลี้ยงกระต่าย นอกจากจะทำเป็นงานอดิเรกแล้ว ยังอาจเลี้ยงเป็นอาชีพได้อีกด้วย แม้ในปัจจุบัน ตลาดกระต่ายยังมีไม่มาก แต่ก็จะมากขึ้นเรื่อยๆ บางคน เลี้ยงกระต่ายพื่อประโยชน์ต่างๆที่นอกเหนือจากจะเลี้ยงไว้ดูเล่น เช่น อาจจะใช้เพื่อการศึกษาค้นคว้า หรืออาจเรียกไว้เพื่อจำหน่ายเนื้อด้วย เพราะมีผู้บริโภคเนื้อกระต่ายอยู่เหมือนกัน หรือเอาขนกระต่ายไปทำเสื้อผ้าได้อีกด้วย

กระต่ายที่บ้านผมเอง อายุ 1 ปี 3 เดือน

        กระต่ายเป็นสัตว์ที่ต้องการสถานที่สำหรับเลี้ยงไม่มาก ถ้าเทียบกับสัตว์อื่นๆ แต่มันชอบขุด

      กระต่ายเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่มีคนนิยมอย่างมาก เพราะเป็นสัตว์เลี้ยงง่าย สะอาดและน่ารัก กระต่ายเป็นสัตว์ที่ให้ลูกดกมากกว่าสัตว์อื่น โดยให้ลูกได้ปีละประมาณ 30 ตัว หรือ 4 คอกเป็นอย่างน้อย ลูกกระต่ายโตเร็วมาก กระต่ายอายุ 2 เดือนครึ่ง จะมีน้ำหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม และกระต่ายอายุ 3 เดือนครึ่ง จะหนักมากกว่า 2 กิโลกรัมขึ้นไป


        กระต่ายสามารถให้ความเพลิดเพลินคนครอบครัวหรือเด็กๆได้ดี  เพราะสะอาด และไม่เป็นอันตราย ไม่เปลืองอาหารกระต่าย เช่น หญ้าและเศษผักต่างๆ