บทบทความนี้จะเป็นการรวมสายพันธุ์กระต่ายหูตก (Lop Rabbit) ซึ่งจะมีรายชื่อสายพันธุ์ดังนี้
- American Fuzzy Lop
- Cashmere Lop
- Mini Lop
- English Lop
- French Lop
- German Lop
- Holland Lop
- Mini Lion Lop
- Plush Lop
สำหรับด้านล่างต่อไปนี้ จะเป็นเรื่องราวย่อ ๆ ของแต่ละสายพันธุ์
American Fuzzy Lop
กระต่ายหูตก | American Fuzzy Lop (https://en.wikipedia.org) |
เบื้องหลังของกระต่ายหูตกสายพันธุ์นี้คล้าย ๆ กับกระต่ายหูตกฮอนแลนด์ลอป ในตอนแรกเริ่ม กระต่ายฮอนแลนด์ลอปนั้นมีแต่สีพื้น ๆ ผู้พัฒนาสายพันธุ์ต้องการให้กระต่ายมีสีสันที่หลากหลายและสวยงามจึงพยายามพัฒนาให้กระต่ายฮอนแลนด์ลอปมีสี 'Broken' (ดูเกี่ยวกับสีของกระต่ายเพิ่มเติมได้ที่ "กระต่ายพันธุ์ Rex") จึงนพฮอนแลนด์ลอปไปผสมกับกระต่ายสายพันธุ์อื่น ๆ เช่น สายพันธุ์ English Spot, French Angoras,
Cashmere Lop
Cashmere Lop เป็นกระต่ายที่มีหูตก (นอกจากนี้ยังมีกระต่ายสายพันธุ์นี้ที่มีขนาดเล็กกว่า คือ Cashmere Lop) มีขนาดกลาง มีขนยาวและหนาแน่น กระต่ายสายพันธุ์นี้ได้รับการจดทะเบียนให้ต่างจากกระต่ายหูตกแคระทั่วไปโดย British Rabbit Council ในปี 1980 กระต่ายสายพันธุ์นี้มีหลากหลายสีสัน มีน้ำหนักประมาณ 4-5 ปอนด์ และมีต้นกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ
Mini Lop
กระต่ายหูตก |
กระต่ายมินิลอปตัวแรกกำเนิดมาจาก "German Big Lop" และ "Small Chinchilla"
German lops หนักประมาณ 3.6 กิโลกรัม รูปร่างเรียวและมีขนาดใหญ่ มีหูหนา
Bob Herschbach ได้ให้กำเนิดมินิลอปตัวแรกในสหรัฐฯ ซึ่งมีสีทึบ สำหรับรุ่นต่อมาสีของกระต่ายเปลี่ยนเป็นสีแถว ๆ สีน้ำตาล ซึ่งกลายมาเป็นสีมาตรฐานของกระต่ายพันธุ์มินิลอป
ในปี ค.ศ. 1974 หลังจากที่ Bob Herschbach มีกระต่ายมินิลอปแล้ว เขาก็ได้นำไปให้ทาง ARBA ขึ้นทะเบียนเป็นสายพันธุ์ใหม่ แต่ทาง ARBA แนะนำว่าควรทำการลดขนาดของกระต่ายลงให้มีความกระทัดรัดมากยิ่งขึ้นเพื่อให้เป็นกระต่ายที่มีความน่าสนใจ เพื่อการลดขนาดนี้ Bob Herschbach ได้ตามหาพ่อแม่พันธุ์กระต่ายอื่น ๆ มาผสมกับกระต่ายมินิลอปของเขา แล้วกระต่ายมินิลอปก็เป็นที่สนใจแก่ประชาชนทั่วไป
ในปี ค.ศ. 1977 มินิลอปมีผู้สนับสนุนเพิ่ม คือ Herb Dyke
ในปี ค.ศ. 1978 Herschbach และ Dyke ได้จัดตั้งสโมสรกระต่ายมินิลอปขึ้น ในปีนั้นเองมีสมาชิกกว่า 500 คน จากนั้นพวกเขาก็ส่งจดหมายไปหา ARBA ให้ยอมรับกระต่ายสายพันธุ์นี้
ในปี ค.ศ. 1980 ในการประขุมกระต่ายแห่งชาติ สายพันธุ์มินิลอปถูกตัดสินว่ามันควรถูกลงทะเบียนเป็นกระต่านสายพันธุ์แท้อย่างเป็นทางการ โดย ARBA หลังจากนั้นไม่นาน กระต่ายมินิลอปก็นิยมไปทั่ว
English Lop
กระต่ายหูตกอังกฤษ (English Lop) |
สำหรับ English Lop มันถูกเรียกว่า "สุนัขของโลกกระต่าย" (dogs of the rabbit world) โดยทั่วไปมันค่อนข้างเงียบสงบ แต่มันก็ค่อนค้างอยากรู้อยากเห็นและมีความเป็นมิตร มันเป็นสัตว์เลี้ยงที่ดีสำหรับเด็ก ๆ ซึ่งสายพันธุ์อื่น ๆ อาจเข้ากับเด็กได้ไม่ดีนัก
French Lop
กระต่ายหูตก French Lop Rabbit (http://www.pets4homes.co.uk/) |
เนื่องจากมันมีขนาดใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับกระต่ายพันธุ์อื่น ๆ ดังนั้นมันจึงต้องการบ้านที่มีขนาดใหญ่ มันเป็นกระต่ายที่สงบและดูผ่อนคลายและสามารถอดทนต่อกระต่ายพันธุ์อื่น ๆ ในช่วงที่กระต่ายมีอายุไม่มากมันเป็นสัตว์เลี้ยงที่เหมาะกับเด็ก ๆ แต่อย่างไรก็ตาม มันไม่เหมาะกับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงกระต่าย เนื่องจากมันมีขนาดตัวที่ใหญ่และมีขาหลังที่แข็งแรง ซึ่งอาจเกิดอันตรายได้ในขณะอุ้มกระต่าย
German Lop
กระต่ายหูตกเยอรมัน (German Lop) เป็นสายพันธุ์ที่ได้รับการยอมรับโดย BRC (สภากระต่ายอังกฤษแห่งสหราชอาณาจักร) มันมีลักษณะอ้วนกลมและปราดเปรียว
สภา BRC ได้มีข้อกำหนดมาตรฐานกำหนดคุณลักษณะดังต่อไปนี้สำหรับระบุว่ากระต่ายเป็นสายพันธุ์ German Lop
Holland Lop
ฮอลแลนด์ลอป (broken orange ) |
หลังจากส่งกระต่ายออกนอกประเทศฮอลแลนด์ และสมาคม ARBA ได้ยอมรับสายพันธุ์นี้ มันก็กลายเป็นกระต่ายที่ผู้คนที่นิยมอย่างรวดเร็ว แต่ประวัติของกระต่ายพันธุ์นี้ค่อนข้างมีน้อย ฮอลแลนด์ลอปรู้จักกันในอีกชื่อคือ Dwarf Lop มันเป็นกระต่ายที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้เก่ง
ในช่วงปี 1949 มีผู้พยายามผสมสายพันธุ์ French Lop ให้เป็น White Netherland Dwarf แต่ผลออกมาล้มเหลว
กระต่ายฮอนแลนด์ลอปถูกนำมาที่ประเทศอังกฤษเป็นครั้งแรกในปี 1969 โดย George Scott น้ำหนักกระต่ายในตอนนั้นหนัก 1.36 กิโลกรัม
Mini Lion Lop
รูปกระต่ายหูตก ที่มีแผงคอ |
กระต่ายมินิไลออนหูตก ถูกพัฒนาขึ้นในประเทศอังกฤษในช่วงต้นปี ค.ศ. 2000 และได้รับการยอมรับในปี 2006 มันมีลักษณะเหมือนมินิลอป แต่เพิ่มแผงคอเข้ามาซึ่งเหมือนกระต่ายไลออน ผู้พัฒนากระต่ายพันธุ์นี้คือ Jane Bramley ผู้ซึ่งเชี่ยวชาญด้านสายพันธุ์กระต่าย
ทุกสีของ"กระต่ายมินิไลออนหูตก"นั้นเป็นสีมาตรฐาน เนื่องจากพันธุ์หูตกยังไม่ได้ถูกกำหนดเรื่องสีที่เป็นมาตฐาน
มันต้องใช้กระต่ายถึง 3 รุ่นในการแสดงออกของสีของสายพันธุ์ที่จะนำไปยืนยัน
Plush Lop
บรรณานุกรม
กระต่าย. (2557). กระต่ายหูตก. ค้นข้อมูล วันที่ 1 มกราคม 2558. จาก http://www.thai-rabbit.info/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น